Event
ในยุค Disruption หรือ Digital Disruption ที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าสูง ส่งผลให้ทุกอย่างรอบตัวเราถูกกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งการใช้ชีวิต รูปแบบการดำเนินธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นคนเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการนั้นเช่นกัน ทักษะเดิมที่เราเคยมี อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานอีกต่อไป
หากต้องการอยู่รอดในตลาดแรงงานท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้คนจะต้อง Reskill และ Upskill อยู่เสมอ Micro-Credentials จึงเป็นคำตอบสำคัญ ที่จะช่วยให้คนปรับตัวได้ทันความต้องการตลาดแรงงาน แต่ Micro-Credentials คืออะไร? จะนำไปใช้อย่างไร? ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกัน
Micro-Credentials คือ ระบบรับรองความสามารถที่เฉพาะเจาะจง ผ่านการแสดงหลักฐานการทำงานจากความสามารถนั้นๆ เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์การทำได้จริง ผู้ที่ผ่านการรับรองจะได้รับ Digital Badges ที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทำได้ เป็นหลักฐานยืนยัน
ความเฉพาะเจาะจง เป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญของ Micro-Credentials จากองค์ความรู้หรือ Skill Set กลุ่มใหญ่ เราจะต้องย่อยขนาดลงและเจาะจงเฉพาะเรื่องให้มากขึ้น เพื่อให้สโคปการเรียนรู้น้อยลง
โดยเราจะไม่ได้บอกเพียงแค่ว่า ทำอะไรได้ (What) แต่ต้องเจาะจงให้ชัดว่า ทำได้ด้วยวิธีใด (How)
ดังนั้นเมื่อเรานำเอา What + How มาเป็นตัวกำหนด จะทำให้เจาะจงได้ว่าใน 1 ทักษะ ที่แตกต่างกันด้วยวิธีทำ ก็ทำให้เกิดเป็น Micro-Credentials ที่แตกต่างกันได้อีก
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Micro-Credentials สามารถเรียนรู้ได้ไว เพราะเป็นการตั้งเป้าหมายและวัดผลการเรียนรู้ที่สมรรถนะเป็นหลัก หรือพูดง่ายๆ ว่า “ทำได้และทำเป็น” โดยไม่ยึดเอากรอบของเวลามาเป็นตัวกำหนด เราสามารถแบ่งระดับของการวัดผลการทำได้ (Levels of Competency) ออกเป็น 4 ระดับด้วยกันคือ
ความเข้าใจ > ได้ลองทำ > สามารถทำได้ > ทำเป็น
สุดท้ายแล้วการทำ Micro-Credentials ผู้เรียนจะต้องได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญว่าสามารถทำได้จริง และได้รับหลักฐานรับรองเป็น Digital Badge เป็นหลักฐานการพิสูจน์และรับรอง
และที่ 4lifelonglearning เรามีหลักฐานการรับรองแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ Digital Badge และ Digital Certificate โดยใช้ระดับการวัดผลทำได้ (Level of Competency) เป็นเกณฑ์
คือ การพัฒนาและรับรองความสามารถของผู้เรียนจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ การลองทำและฝึกฝน (ในขั้นนี้จะเน้นความเข้าใจเป็นหลัก) สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการประเมินคือ Digital Certificate
คือ การพัฒนาและรับรองความสามารถของผู้เรียนจากการทำงาน เรียกง่ายๆ ว่าทำงานได้จริง ผ่านการส่งผลงานจากการทำงานจริงหรือหลักฐานแสดงความสามารถตามสถานการณ์ที่กำหนด สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการประเมินคือ Digital Badge
เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น เรามาจำลองภาพการพิสูจน์ Micro-Credentials ผ่านสถานการณ์ของนาย A และนาย B ที่มีความสนใจ Micro Credentials เรื่องการพยากรณ์ยอดขายด้วย DATA กันค่ะ
นาย A ไม่มีทักษะการพยากรณ์ยอดขายหรือการทำ Data มาก่อน จึงเริ่มต้นจากการเรียนรู้ (Learn) จนครบหลักสูตรทั้งหมด นำกลับไปฝึกฝน แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานจริง หลังจากนั้นก็นำหลักฐานการทำงานมาพิสูจน์ความสามารถเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รับ Digital Badges ในที่สุด
ในขณะที่นาย B อาจจะมีพื้นฐานความเข้าใจการทำ Data มาแล้วในระดับหนึ่ง ทำให้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเพียงบางส่วน ก็เข้าใจและนำไปปรับใช้ในการทำงานได้ทันที หลังจากนั้นก็นำหลักฐานการทำงานมาพิสูจน์ เมื่อผ่านฐานความสามารถก็จะได้รับ Digital Badges ไปเช่นกัน
“เฉพาะเจาะจงและพิสูจน์การทำได้จริง”
จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ทั้งคู่จะกำลังพัฒนาความสามารถทักษะเดียวกัน แต่ก็มีระยะเวลาในการพิสูจน์ความสามารถที่แตกต่างกัน เพราะ Micro-Credentials มีระยะเวลาการพัฒนาที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างทันท่วงที
จากเรื่องเล่าด้านบนจะเห็นได้ว่า Micro-Credentials มีการเรียนรู้ในรูปแบบพื้นที่ออนไลน์ (MOOC) เหมือนกับคอร์สเรียนออนไลน์โดยทั่วไป โดยทั้งสองจะมีความแตกต่างกันที่ผลลัพธ์หรือเป้าหมาย
การเรียนคอร์สออนไลน์เป็นการเรียนรู้ผ่าน Learning Resources เป็นหลัก ส่วนมากจะ Based on Content อาจจะมีหรือไม่มีการวัดผลก็ได้ หากมีก็จะเน้นการประเมินที่ความเข้าใจเนื้อหาเป็นหลัก แต่จะยังไปไม่ถึงในจุดที่วัดผลการทำได้จริงในความสามารถนั้นๆ
ในขณะที่ Micro-Credentials ในช่วงเริ่มต้นอาจจะมีการเรียนรู้ผ่าน Learning Resources คล้ายๆ กัน แต่เป้าหมายสุดท้าย คือ การพิสูจน์ทักษะ (Proof Skill) ว่าผู้เรียนทำได้จริง โดยเราสามารถให้ชุดข้อมูลกับผู้เรียนเพิ่มเติมได้ เพื่อให้เค้าไปสู่จุดที่สามารถทำได้จริง
ถึงแม้ว่า Micro-Credentials จะเป็นเรื่อง แปลกใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย แต่ในระดับนานาชาติ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจกำลังให้ความสำคัญ และเร่งผลักดันเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะที่ตอบโจทย์ และแก้ปัญหาขาดแรงงานหลังภาวะระบาด Post-Pandemic แต่จะมีเจ้าไหนบ้าง? เราจะไปทำความรู้จักกัน
เป็น Micro-Credentials ที่พัฒนาขึ้นมาโดย IBM (International Business Machines) บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยี ที่มีเป้าหมายการผลักดันและสร้างแรงงานให้มีทักษะ IT จึงเปิดให้มีการพิสูจน์ Micro-Credentials ทักษะด้าน IT โดยเฉพาะ
มีให้เลือกหลายทักษะไม่ว่าจะเป็น Data Analysis, AI, Cloud Support และ Cybersecurity เป็นต้น สำหรับใครที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่ IBM Credentials
อีกหนึ่งผู้ให้บริการ Micro-Credentials ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ที่ Future Learn จะชูจุดเด่นตรงการพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ นอกจากนี้ 1 Micro-Credentials ยังสามารถเก็บเครดิตไว้รับปริญญาทั้งโทและตรีในระดับมหาลัยได้อีกด้วย สนใจเข้าไปดูได้ที่ Futurelearn Microcredentials
เป็น Micro-Credentials ที่ให้บริการโดย Microsoft บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ที่เปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาพิสูจน์ทักษะด้าน Technical skills ไม่ว่าจะเป็นทักษะ AI, Cloud computing และ Emerging technologies (เทคโนโลยีเกิดใหม่) โดยมีจุดเด่นตรงที่ ผู้เรียนจะได้ทดสอบและลองทำจริงโปรเจคของ Microsoft โดยตรง สนใจเข้าไปดูได้ที่ Microsoft Credentials
จากแนวทางคิดหลักของ Micro-Credentials คือ การเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับงานและหน้าที่ใหม่ๆ ได้รวดเร็ว ดังนั้น Micro-Credentials จะมุ่งเน้นที่การสร้างทักษะที่ตอบโจทย์กับสาขางานและอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่สุด เพื่อพัฒนาคนให้พร้อมเข้าสู่ตลาดงานได้ทันท่วงที
Micro-Credentials ตอบโจทย์แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในยุคสมัยที่ทุกอย่างมีความผันผวน คนเราจำเป็นต้องอัปเดตความรู้และทักษะให้ตามทันอยู่เสมอ ด้วยความเฉพาะเจาะจงของ Micro-Credentials จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและไว และยังไม่จำกัดความรู้เอาไว้แค่ในรั้วมหาวิทยาลัยอีกด้วย
เป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบของ Micro-Credentials คือ ความยืดหยุ่น ด้วยความที่เป็นการเรียนรู้ผ่านออนไลน์และประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง ทำให้สะดวกทั้งคนที่อยู่ในวัยเรียนและวัยทำงาน ที่สามารถแบ่งจัดสรรเวลาได้ตามความสะดวก นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นการเรียนรู้แบบ Competency-Based เน้นการวัดผลที่การทำได้จริง ก็ทำให้สามารถจบหลักสูตรได้ไวเช่นกัน
และในบางผู้ให้บริการ Micro-Credentials ก็ออกแบบให้สามารถสะสมเป็นหน่วยกิต เพื่อนำไปสู่คุณวุฒิที่ใหญ่กว่า อย่างปริญญาตรี/หรือโท ได้อีกด้วย ช่วยให้ผู้เรียนค่อยๆ เรียนรู้และต่อยอดทักษะจากเล็กไปใหญ่ได้ ตลอดจนรับรองความรู้และทักษะให้นำไปใช้งานและต่อยอดเลื่อนขั้นในสายงาน
การเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย คือ การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่างๆ ในการประกอบวิชาชีพ แต่ทั้งนี้ในระยะเวลา 4 ปี ความต้องการของตลาดแรงงานก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ Micro-Credentials จึงเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่จะช่วยเติมเต็มช่องว่างความสามารถ (Skill Gap) โดยการเรียนรู้และรับรองทักษะงานที่จำเป็นก่อนเรียนจบ เมื่อได้รับหลักฐานและนำไปแสดง ก็จะทำให้เห็นความพร้อมในการทำงานมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้คนวัยทำงานสามารถปรับตัวอยู่ในตลาดแรงงานได้เสมอ Micro-Credentials จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้คนเราสามารถพัฒนาทักษะได้ไวพร้อมทำงานจริงๆ เป็นประโยชน์ทั้งคนที่ต้องการเพิ่มทักษะให้เพียงพอต่อการทำงาน หรือต่อยอดในสายงาน รวมไปถึงคนที่อยากเปลี่ยนสายงานแต่ไม่มีประสบการณ์ Micro-Credentials จะเป็นตัวช่วยบ่งชี้การทำได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์นั้นๆ มาก่อน
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นได้ว่า Micro-Credentials เป็นเหมือนจิ๊กซอว์สำคัญที่จะช่วยเติมเต็ม Skill Gap ที่เกิดขึ้นระหว่างการศึกษากับตลาดงานในอนาคต ด้วยความเฉพาะเจาะจงและความยืดหยุ่น จะทำให้สามารถ Upskill และ Reskill ได้ทันความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงเร็วในยุค Disruption นั่นเอง
Key Takeaway
อ้างอิง
หากคุณกำลังมองหาทางรอดในการทำงานของตนเองเพื่อไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะตกงาน แค่ 3 Checklist ง่ายๆ มีครบ มีงานทำได้แน่ แค่ทำตามนี้ รับรองบริษัทต้องการตัวคุณ