ทำความรู้จักการศึกษาฐานสมรรถนะ Competency-Based Education (CBE) คืออะไร?

ภาพประกอบ Competency-Based Education คืออะไร?

Competency-Based Education คืออะไร?

Competency-Based Education (CBE) หรือ การศึกษาฐานสมรรถนะ คือ รูปแบบการศึกษาที่มุ่งเน้นการช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาและแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญในทักษะหรือสมรรถนะเฉพาะด้าน มากกว่าการเลื่อนระดับตามระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน ผู้เรียนจะก้าวหน้าไปตามความสามารถจากการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้ วิธีการนี้เปลี่ยนจากการเรียนรู้แบบเดิมที่เน้นเนื้อหา ไปสู่รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติงานจริงที่มากขึ้น

องค์ประกอบของการศึกษาฐานสมรรถนะ (CBE)

ภาพแสดงองค์ประกอบของ CBE: มุ่งเน้นการทำเป็น

มุ่งเน้นการทำเป็น

ผู้เรียนต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัดจากทักษะและความรู้ที่แสดงออกมาให้เห็น
ภาพแสดงองค์ประกอบของ CBE: สามารถปรับเส้นทางการเรียนรู้ได้เฉพาะบุคคล

เส้นทางการเรียนรู้
ที่ปรับเฉพาะบุคคล

ผู้เรียนสามารถก้าวหน้าได้ตามจังหวะของตนเอง การศึกษาถูกปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะบุคคล ความรู้ก่อนหน้า และรูปแบบการเรียนรู้ที่ต้องการ
ภาพแสดงองค์ประกอบของ CBE: มีการประเมินตามผลลัพธ์

การประเมินผลตามผลลัพธ์

การศึกษาแบบ CBE ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย เช่น โครงงาน การนำเสนอ และการสาธิตภาคปฏิบัติ เพื่อยืนยันสมรรถนะ
ภาพแสดงองค์ประกอบของ CBE: มีการให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

การสนับสนุนและให้คำแนะนำ
อย่างต่อเนื่อง

ผู้เรียนได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนข้อมูลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้พวกเขาระบุจุดที่ต้องปรับปรุงและรักษาแนวทางการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
ภาพแสดงองค์ประกอบของ CBE: มีสภาพแวดล้อมการเรียนที่ยืดหยุ่น

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น

CBE เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในหลายสถานที่ ตั้งแต่ห้องเรียนไปจนถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ ให้ความยืดหยุ่นแก่ผู้เรียนและผู้สอน

การประเมินสมรรถนะ Competency Assessment

การประเมินสมรรถนะในการศึกษาแบบ Competency-Based Education (CBE) จะมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติและการแสดงความสามารถในการทำงานจริง วิธีการประเมินประกอบไปด้วย

ภาพประกอบ Competency Assessment มีการประเมินสมรรถนะผ่านการทำโครงงาน

การประเมินผ่านโครงงาน

ผู้เรียนทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริงได้

ภาพประกอบ Competency Assessment มีการประเมินสมรรถนะผ่านการสะสมผลงาน

การสะสมผลงาน

ผู้เรียนรวบรวมหลักฐานการทำงานของตนเองตลอดระยะเวลา แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการและความเชี่ยวชาญในทักษะต่าง ๆ

ภาพประกอบ Competency Assessment มีการประเมิน การผ่านการจำลองสถานการณ์และแสดงบทบาท

การจำลองสถานการณ์และการแสดงบทบาทสมมติ

จำลองสถานการณ์และลองฝึกบทบาทสมมติเพื่อแสดงทักษะในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม

ภาพประกอบ Competency Assessment มีการประเมินสมรรถนะผ่านการนำเสนอและสาธิต

การนำเสนอและการสาธิต

ผู้เรียนนำเสนอผลงานหรือทำภารกิจต่อหน้าเพื่อนร่วมชั้นหรือผู้สอนเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของตน

กรอบสมรรถนะ (Framework)

กรอบสมรรถนะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักของการศึกษาแบบ CBE โดยกำหนดทักษะและความรู้เฉพาะที่ผู้เรียนต้องแสดงให้เห็น กรอบนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะดังนี้

มุ่งเน้นสมรรถนะ
เน้นสิ่งที่ผู้เรียนสามารถทำได้จริงในสถานการณ์จริง
สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
กรอบสมรรถนะจะช่วยให้มั่นใจว่าผู้เรียนได้รับทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพในอุตสาหกรรมหรือสาขาที่เลือกเรียน
มีงานวิจัยรองรับ
กรอบสมรรถนะมีแนวปฏิบัติทางการศึกษาและมาตรฐานอุตสาหกรรม
ภาพประกอบกรอบสมรรถนะ (Competency Framework)

ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ CBE กับสถาบันการศึกษา

ภาพประกอบการประยุกต์ใช้ CBE ขั้นตอนที่ 1 กำหนดสมรรถนะ

กำหนดสมรรถนะ

เลือกและกำหนดสมรรถนะที่ผู้เรียนจะต้องแสดงศักยภาพความเชี่ยวชาญ ทั้งในมุมวิชาการและวิชาชีพ โดยมีการตรวจสอบที่แน่ชัดว่าสมรรถนะนี้ สามารถวัดผลได้ มีงานวิจัยรับรอง และตรงความต้องการของอุตสาหกรรม
ภาพประกอบการประยุกต์ใช้ CBE ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้

ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้

พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจังหวะชีวิตของตัวเอง สามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความต้องการที่แตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และสนับสนุนให้พวกเขามุ่งเน้นการฝึกฝนความเชี่ยวชาญในความรู้และทักษะที่เฉพาะเจาะจง
ภาพประกอบการประยุกต์ใช้ CBE ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะ

พัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะ

สร้างการประเมินแบบ Performance-Based Assessments ที่สอดคล้องกับสมรรถนะ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น โครงงานจริง การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมติ และการสะสมผลงาน เพื่อประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน
ภาพประกอบการประยุกต์ใช้ CBE ขั้นตอนที่ 4 ให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

ให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

ให้คำแนะนำและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนาได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้การให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่ความเชี่ยวชาญได้เป็นอย่างดี
ภาพประกอบการประยุกต์ใช้ CBE ขั้นตอนที่ 5 สร้างความยืดหยุ่นในการเรียนรู้

สร้างความยืดหยุ่นในการเรียนรู้

สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น มีการผสมผสานอย่างลงตัว ทั้งรูปแบบเรียนตัวต่อตัว ออนไลน์หรือไฮบริด ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพิ่มความยืดหยุ่นและเข้าถึงผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
ภาพประกอบการประยุกต์ใช้ CBE ขั้นตอนที่ 6 ประเมินและปรับปรุงกรอบสมรรถนะ

ประเมินและปรับปรุงกรอบสมรรถนะ

ทบทวนและปรับปรุง Competency Framework อยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และเป็นไปตามเป้าหมายการเรียนรู้ รวมถึงรักษาการมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอน อุตสาหกรรม และผู้เรียนตลอดการกระบวนการประเมินผล

การออกแบบการศึกษาฐานสมรรถนะด้วย Micro-Credentials

ทำความรู้จัก Micro-Credentials

Micro-Credentials คือ รูปแบบของการศึกษาแบบ CBE ที่ออกแบบมาเพื่อรับรองทักษะหรือการปฏิบัติงานเฉพาะด้านผ่านการสาธิตเชิงปฏิบัติมากกว่าความรู้เชิงทฤษฎี ผู้เรียนต้องแสดงความสามารถในสถานการณ์จริง เช่น ส่งแผนการสอนหรือกลยุทธ์การสอน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญในบริบทการศึกษา วิธีนี้จะช่วยให้การประเมินเน้นเฉพาะด้านและทำได้จริงมากกว่าการศึกษาแบบเดิม
อ่าน Micro-Credentials เพิ่มเติม
ภาพประกอบการออกแบบ CBE ด้วย Micro-Credentials

แนวทางการออกแบบการศึกษาแบบ CBE ด้วย Micro-Credentials

เพื่อการออกแบบการเรียนรู้แบบ Competency-Based Learning (CBL) ให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในรูปแบบ Micro-Credentials สามารถทำตามแนวทางสำคัญเหล่านี้ได้ ดังนี้

กำหนดสมรรถนะ

• เลือกสมรรถนะ พร้อมเขียนคำอธิบายขอบเขตสมรรถนะ (Competency) ที่ผู้เรียนจะต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยที่สมรรถนะนั้นจะต้องแสดงให้เห็นถึงทักษะผ่านการปฏิบัติจริงไม่ใช่การวัดจากความรู้
• มีงานวิจัยอ้างอิง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางวิชาการและอุตสาหกรรม โดยสมรรถนะจะต้องมุ่งเน้นสิ่งที่ผู้เรียนสามารถทำได้มากกว่าความรู้ที่มี

เลือกแนวคิดหลัก

วิธีการ พัฒนาหรือเลือกแนวคิดหลักที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสดงสมรรถนะของตนเองได้ โดยวิธีการเหล่านี้จะต้องนำมาปฏิบัติได้จริงในหลายสถานการณ์​ และมีข้อมูลจากงานวิจัยรองรับ ตัวอย่างเช่น ผู้เรียนแสดงสมรรถนะของตนผ่านการแก้ปัญหา การทำโปรเจกต์ (Project-Based Assessments) หรือการใช้ทักษะในการทำงานจริง
• ตรวจสอบ ให้แน่ชัดว่าวิธีการที่เลือกใช้ มีขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำตามและแสดงความชำนาญของตนได้

ลงรายละเอียดของแนวคิด

แบ่งวิธีการเป็นขั้นตอนหรือองค์ประกอบย่อย ๆ ประกอบด้วย
• องค์ประกอบหรือแนวทางปฏิบัติที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติตามได้
• แนะนำกลยุทธ์ในการนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้ โดยให้คำแนะนำที่ชัดเจนเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ตัวอย่าง หากคุณสอนทักษะการทำงานเป็นทีม หนึ่งในองค์ประกอบของวิธีการคือ "การแก้ปัญหาร่วมกัน" พร้อมตัวอย่างการที่ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มเพื่อแสดงสมรรถนะนี้

มีการสนับสนุนด้วยงานวิจัย

• ใช้งานวิจัยปัจจุบันเพื่อสนับสนุนสมรรถนะและวิธีการที่เลือก เพื่อให้มั่นใจว่าทักษะที่ประเมินมีความเกี่ยวข้องและน่าเชื่อถือ
• อ้างอิงงานวิจัยอย่างน้อย 3 งานวิจัย ในรูปแบบ APA หรือ MLA ที่สนับสนุนความสำคัญของทักษะดังกล่าว

จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้

รวบรวมแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนผู้เรียนให้ไปสู่ความเชี่ยวชาญในสมรรถนะ ด้วยข้อมูลดังนี้
• แผนการสอน บทความวิชาการ วิดีโอ คู่มือปฏิบัติต่าง ๆ ที่ช่วยในการฝึกฝนสมรรถนะ
• ตรวจให้แน่ใจว่า ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว

ออกแบบการวัดผลและเกณฑ์การประเมิน

ข้อกำหนดการประเมิน: ควรออกแบบชิ้นงานที่ผู้เรียนสามารถแสดงสมรรถนะได้ ในขอบเขตดังนี้
• จำนวนชิ้นงานเหมาะสมกับการประเมินสมรรถนะและจัดการได้ง่าย ทั้งผู้เรียนและผู้ประเมิน
• มุ่งเน้นการแสดงสมรรถนะ เช่น การทำโปรเจกต์ การถ่ายวิดีโอ หรือการสร้างแฟ้มผลงาน (Portfolio)
เกณฑ์การประเมิน: สร้างเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ระดับความสามารถ
• ผ่าน - มีความเชี่ยวชาญในสมรรถนะ
• เกือบผ่าน - มีความเชี่ยวชาญบางส่วน ที่ยังต้องฝึกฝนเพิ่มเติม
• ยังไม่ผ่าน - ยังไม่ได้แสดงความสามารถ

เปิดโอกาสให้สะท้อนความคิดเห็น

ให้ผู้เรียนสะท้อนความคิดเห็นหลังการสาธิตหรือแสดงสมรรถนะ ความเห็นที่ได้จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในโลกการทำงานจริงได้เป็นอย่างดี

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ

โครงการพัฒนากรอบแนวคิดการสร้างหลักสูตรสำหรับการผลิตบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะสำหรับการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 5 โดยใช้แนวคิด Competency-Based Education
ภาพประกอบการร่วมออกแบบ Micro-Credentials

Become a Designer

ผลักดันการศึกษาในฐานะ MC Designer พร้อมเพิ่มศักยภาพและรับรองความสามารถให้ผู้เรียนด้วย Micro-Credentials ของคุณ

ร่วมออกแบบกับเรา