หลายๆ คน อาจเคยได้ยินคำว่า “Career Path” หรือคำถามว่า “วางแผนความก้าวหน้าในการทำงาน และมองเห็นภาพตัวเองเป็นอะไรในอีก 5 ปีข้างหน้า” ไม่ว่าจะเป็นจากการสัมภาษณ์เข้าทำงาน จากหัวหน้างานหรือจากคนรู้จัก “แล้ว Career Path คืออะไร? จะเริ่มต้นวางแผน Career Path นี้อย่างไรให้ตอบโจทย์เป้าหมายชีวิต” เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบและทำความเข้าใจกันในบทความนี้
Career Path คืออะไร Career Path คือ เส้นทางความก้าวหน้าในการทำงาน ไม่ว่าคุณจะกำลังทำอาชีพอิสระ พนักงานบริษัท หรือเป็นบุคลากรของรัฐ ล้วนแล้วแต่มีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของตนเองทั้งนั้น กล่าวคือ การที่เรารู้จักอาชีพหรืองานที่คุณกำลังทำอยู่ รู้ว่าตำแหน่งที่คุณทำคือตำแหน่งใด และตำแหน่งงานที่คุณจะก้าวไปให้สูงสุดของสายอาชีพนี้คืออะไร เพื่อให้คุณได้วางแผน Career Path ในอาชีพของคุณได้ และหากคุณมีเส้นทางความก้าวหน้าในการทำงานที่ชัดเจน จะช่วยให้คุณพัฒนาความสามารถได้ตรงจุด ให้มีความโดดเด่น เป็นที่ยอมรับสำหรับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าในอาชีพ
คนส่วนใหญ่เมื่อเริ่มต้นทำงาน มักจะเริ่มจากตำแหน่งที่เป็นระดับปฏิบัติการตามแผนงานและค่อยๆ ไต่ระดับไปตำแหน่งที่สูงขึ้นมีอำนาจในการตัดสินใจเพิ่มขึ้น ไปจนถึงระดับผู้บริหาร เราเรียกการเติบโตในการทำงานแบบนี้ว่า การเติบโตในแนวตั้งหรือการเติบโตเป็นเส้นตรง หรือถ้าคุณมีความสามารถอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่สายงานคุณต้องการ ก็อาจจะเป็นเส้นทางการเติบโตในแนวกว้างหรือแนวทแยงได้
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวางเป้าหมายในการเติบโตใน Career Path ของคุณ เมื่อคุณมีเป้าหมายในอาชีพที่ชัดเจนแล้ว คุณจะต้องรู้จักระดับตำแหน่งงานต่างๆ ในอาชีพที่คุณกำลังทำเพื่อให้คุณได้วางแผนพัฒนาความสามารถให้ถูกจุดไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้
ระดับตำแหน่งใน Career Path ระดับตำแหน่งใน Career Path มีไว้เพื่อ ทำให้คนทำงานรู้ถึงอำนาจการตัดสินใจ หน้าที่ ความเชี่ยวชาญและความรับผิดชอบของงานแต่ละตำแหน่ง นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับความแตกต่างในหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว ระดับตำแหน่งงานที่แตกต่างกันยังบอกถึงความแตกต่างในด้านของประสบการณ์ และองค์ความรู้ ของแต่ละตำแหน่งที่ต่างกันอีกด้วย การที่คนทำงานเข้าใจระดับตำแหน่งงานใน Career Path จะมีส่วนช่วยในการวางเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ตนสนใจ และระดับตำแหน่งงานในแต่ละที่หรือแต่ละองค์กรจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและประเภทของอุตสาหกรรมอีกด้วย
Entry-Level Position: ในช่วงแรกของ Career Path มักจะเริ่มจากการทำงานในระดับปฏิบัติการทั่วไป ซึ่งเหมาะกับเด็กจบใหม่ที่ต้องการเพิ่มทักษะและสะสมประสบการณ์ในการทำงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นMid-Level Positions: จากการสะสมทักษะและประสบการณ์มาระยะหนึ่ง ก็จะเข้าสู่ช่วงกลางของ Career Path ซึ่งอาจจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน Senior-Level or Management Positions: ด้วยประสบการณ์ในการทำงานที่มากขึ้น เราอาจก้าวเข้าสู่ตำแหน่งระดับอาวุโสในสายงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องใช้ทั้งทักษะความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และภาวะความเป็นผู้นำ โดยมีอำนาจการตัดสินใจเรื่องสำคัญที่มีผลต่อภาพรวมของทีมหรือแผนกที่อยู่ในความดูแลExecutive or Leadership Roles: ตำแหน่งสูงสุดของ Career Path คนที่ทำงานในตำแหน่งนี้มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องสำคัญ ซึ่งมีผลต่อภาพรวม ทิศทาง และความสำเร็จขององค์กรSpecialization or Expert Roles: บาง Career Path อาจต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเจาะจงในสายงานนั้นๆ โดยคนที่ทำงานในตำแหน่งนี้จะต้องมีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในสายอาชีพระดับลึกซึ้ง และมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาหรือดำเนินงานที่ต้องการตามความเชี่ยวชาญEntrepreneurship: เป็นตำแหน่งสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างและดำเนินธุรกิจในรูปแบบของตนเอง โดยตำแหน่งนี้จะต้องอาศัยทั้งความคิดสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นในการริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ และการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
Career Path ตัวอย่าง ในแต่ละสายอาชีพ ในหัวข้อนี้เราจะมายกตัวอย่าง Career Path เพื่อช่วยให้ทุกคนได้เห็นภาพของอาชีพที่แตกต่างกันแต่ละอาชีพ ว่ามีลักษณะการทำงานเป็นแบบไหน และแต่ละอาชีพมีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพอย่างไร ซึ่งอาชีพที่ยกมานี้เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพเท่านั้น แต่ละอาชีพอาจจะมีความหมายหรือ Career Path ที่ต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม
Project Manager สายงาน Project Manager อาจไม่ได้มีเส้นทางหรือ Career Path ที่ตายตัวทางเดียวที่จะให้คุณเป็น Project Manager ได้ มันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และหน้าที่ความรับผิดชอบที่คุณจะได้ฝึกฝนระหว่างทาง ส่วนใหญ่คนทำงานที่จะขึ้นมาเป็น Project Manager จะเริ่มทำงานในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งก่อน และค่อยๆ เพิ่มความรับผิดชอบในส่วนของการวางแผน ดำเนินการ ติดตาม ควบคุมโครงการ จนคุณมีความเข้าใจงานและชำนาญจนก้าวเข้าสู่งานด้าน Project Manager ทักษะที่จำเป็นสำหรับสายงานนี้ เช่น ความเป็นผู้นำและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การจัดการองค์กรและการจัดการเวลา การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การจัดการอารมณ์ที่ดี และมีทัศนคติเชิงบวก เป็นต้น
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ Project Manager Project Manager : Work in the Industry > Entry-Level Project Management > Project Manager > Senior Project Manager > Director of Project Management > VP of Operations, COO
Digital Marketer นักการตลาดดิจิทัล หรือ Digital Marketer มีหน้าที่สื่อสารสร้างการรับรู้คุณค่าของแบรนด์หรือสินค้าผ่าน Digital Platform & Media ต่างๆ เพื่อให้ตอบเป้าหมายของแผนการตลาดขององค์กร จริงๆ แล้ว Digital Marketer ยังมีสายงานแยกย่อยได้อีก ทั้งสาย Digital Advertising ทำเฉพาะด้านโฆษณาออนไลน์, สาย Search Marketing ที่ทำงานเกี่ยวกับการปรับแต่งเพื่อการค้นหาโดยเฉพาะ หรือแม้แต่สาย Content
คนส่วนใหญ่มักเข้าสู่สายงานนี้จากการทำคอนเทนต์ แล้วเรียนรู้ทักษะเพิ่มเติม จากสายต่างๆ ข้างต้น เพิ่มเติมด้วยทักษะที่จำเป็นสำหรับสายงาน เช่น การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การเลือกใช้แพลตฟอร์มรวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลหลังบ้าน เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและต่อยอดไปถึงการสร้างกลยุทธ์การตลาดและวางแผนแคมเปญได้
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ Digital Marketer Digital Marketer: Digital Marketing Intern > Digital Account Executive ⇔ Digital Marketing Specialist > Digital Account Manager ⇔ Lead Specialist > Digital Director
Data Scientist นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือ Data Scientist คือ ผู้ที่ทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร และนำมาทำเป็นแผนภาพหรือจะสร้างเป็นโมเดลใช้ดูข้อมูลวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน หรือจะเป็นการหา Solution เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ และเป็นแนวทางตัดสินใจถึงแนวโน้มของธุรกิจ หรือจะใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กร โดยมีทักษะที่จำเป็นสำหรับสายงานนี้ เช่น การเขียนโปรแกรม การคำนวณผลทางคณิตศาสตร์และทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล การทำ Data Visualization เพื่อสื่อสารให้คนเข้าใจในข้อมูล เป็นต้น
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ Data Scientist Data Scientist: Junior Data Scientist > Data Scientist > Senior Data Scientist > Principal/Staff Data Scientist > Data Science Manager > Senior Director/VP of Data Science
ความสำคัญของ Career Path ต่อคนทำงาน การตั้งเป้าหมายและวางแผน Career Path จะช่วยให้การทำงานมีเป้าหมายที่ชัดเจนและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ Career Path จะช่วยกำหนดทิศทางในการพัฒนาทักษะ ความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโอกาสในการเติบโตทางอาชีพ การเลือกอาชีพที่พึงพอใจ มีผลต่อคุณภาพชีวิต ช่วยสร้างความสุขในชีวิตประจำวันและส่งผลให้คนทำงานมีความมั่นคงและมีสุขภาพจิตที่ดี การเลือก Career Path ที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน เนื่องจากคนทำงานที่มี Career Path ที่ชัดเจน จะมีการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมในอาชีพ ช่วยให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่องค์กรต้องการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการต่อรองเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ในอนาคต ส่งผลให้มีการเติบโตในส่วนของรายได้และความมั่นคงในอาชีพ
เริ่มต้นวางแผน Career Path อย่างไร? การเริ่มต้นวางแผน Career Path คุณต้องรู้ก่อนว่าเป้าหมายที่อยากจะเติบโตหรือความก้าวหน้าในอาชีพของคุณคืออะไร ต้องการทักษะและประสบการณ์อะไรบ้าง ที่จะไปถึงตำแหน่งนั้น แล้วมีแหล่งเรียนรู้ที่คุณจะพัฒนาเพื่อให้ก้าวหน้าไปในตำแหน่งงานนั้นได้คืออะไร เรามี 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณจะเริ่มมองเห็นความสำคัญของการวางแผน Career Path กันมากขึ้น แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เรามี 3 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณเริ่มต้นวางแผน Career Path ได้มาฝากค่ะ
สำรวจตัวเลือกด้านอาชีพ คือ การสำรวจอาชีพหรือกำหนดเป้าหมายของอาชีพให้เหมาะสมกับคุณ เบื้องต้นอาจจะพิจารณาจากความชอบส่วนตัว ว่าคุณชอบงานประเภทไหน ถนัดที่จะทำอะไร ทำงานอะไรแล้วมีความสุข หลังจากนั้นก็ศึกษาข้อมูลสโคปของอาชีพที่คุณทำอยู่หรือสนใจ ว่ามีเส้นทางแนวทางเติบโตเป็นอย่างไร หรือหากคุณต้องการจะเปลี่ยนสายอาชีพ ก็ต้องศึกษาอาชีพที่คุณสนใจ มีลักษณะการทำงานเป็นอย่างไร เพื่อที่คุณจะได้เตรียมพร้อมให้เหมาะกับการทำงานในตำแหน่งนั้นๆ
หาข้อมูลเจาะลึก หลังจากเลือกอาชีพที่คุณสนใจได้แล้ว ต่อมาคือการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณ ว่าคุณมีทักษะและความสามารถที่พร้อมจะเข้าไปทำงานในตำแหน่งหรืออาชีพที่คุณได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ นอกจากการวิเคราะห์ตัวคุณเองแล้ว คุณยังต้องศึกษาข้อมูลเจาะลึกของอาชีพที่คุณตั้งเป้าหมายไว้ เช่น รายละเอียดของตำแหน่งงาน และทักษะที่ตำแหน่งงานหรืออาชีพนั้นต้องการ ขั้นตอนต่อไปคือการวิเคราะห์ตัวคุณว่าเหมาะสมกับตำแหน่งดังกล่าวหรือไม่ และมีทักษะใดที่ตัวคุณต้องพัฒนาหรือขาดเพื่อให้ก้าวหน้าไปถึงตำแหน่งเป้าหมายได้
การเชื่อมโยงทักษะ (Skill Mapping) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยสำรวจความถนัดทักษะเทียบกับอาชีพให้กับคุณได้ เพียงกำหนดทักษะที่คุณมีลงไปในฟีเจอร์ Skill Map ระบบจะทำการวิเคราะห์ทักษะของคุณ ผลวิเคราะห์ที่ได้จะเป็นรูปอาชีพและงานที่เหมาะสมกับคุณ นอกจากนี้ยังแสดงลักษณะงานที่ต้องทำ และทักษะต่างๆ ที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม พร้อมทั้งสร้างเส้นทางความก้าวหน้าใน Career Path ให้คุณใช้ประกอบการตัดสินใจได้สะดวกขึ้น
เพียงระบุทักษะที่คุณมี เพื่อค้นหาเส้นทางอาชีพที่คุณถนัด Click
เริ่มต้นวางแผน วางแผน Career Path ของคุณวันนี้ มาถึงตรงนี้อาจจะบอกได้ว่าการวางแผน Career Path ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย และมันก็ไม่สายเกินไปหากคุณจะเริ่มต้นตั้งเป้าหมายความก้าวหน้าในการทำงานให้กับตัวเอง แต่ไม่ว่าจะทำอาชีพไหน ทุกเส้นทางก็มีจุดเริ่มต้น จุดแวะพัก และปลายทาง ในเส้นทางนี้เราเรียกว่า Career Path และถ้าคุณต้องการรับรองทักษะ เพื่อเตรียมพร้อมไปสู่ Career Path ที่ใช่ของคุณ 4Lifelonglearning อาจเป็นตัวช่วยให้คุณได้ค่ะ
References