Highlight
เมื่อพูดถึงการทำงานที่เรียกได้ว่าเปรียบเสมือน Mini CEO ของบริษัท ทุกคนลองเดาได้ไหมคะ ว่าคือตำแหน่งงานอะไร? หากยังนึกไม่ออก เราขอเฉลยเลยนะคะ นั่นก็คือ การเป็น Product Manager เพราะตำแหน่งนี้ จะต้องใช้ทักษะการทำงานที่คล้ายคลึงกับการเป็น CEO ถ้าอยากรู้แล้วว่าการเป็น Product Manager หรือที่เราคุ้นหูว่า PM จะต้องทำยังไง มีทางลัดให้ก้าวสู่การเป็น PM เร็วขึ้นไหม อ่านบทความนี้ค่ะ
ยุคสมัยที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอทำให้เกิดปรากฎการณ์ Digital Disruption ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้บริษัท องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ พยายามผลักดันผลิตภัณฑ์ทั้งสินค้าและบริการของตนเองเพื่อให้ตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยการผลิต Digital Product เป็นของตนเอง ทั้งเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ระบบ E-commerce และอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดลูกค้ายุคใหม่ด้วย แล้วสิ่งนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานด้าน Product Manager 4LifelongLearning ขอเล่าให้ฟังแบบนี้ค่ะ
เนื่องจากกระบวนการทำงานรูปแบบดั้งเดิมในการปล่อยผลิตภัณฑ์อาจจะใช้ระยะเวลานานหรือบางครั้งอาจจะไม่ตอบโจทย์ลูกค้าเท่าที่ควร ส่งผลให้หลายบริษัทพยายามปรับการทำงานขององค์กรให้อยู่ในรูปแบบ Start Up ที่เน้นการมอบคุณค่าแก่ลูกค้าได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดอาชีพที่น่าสนใจอย่าง Product Manager ขึ้นมา โดยจะต้องมีทักษะการทำงานตั้งแต่การบริหารจัดการทรัพยากรใช้ให้คุ้มค่า การวางแผนกำหนดกลยุทธ์ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การขาย การตลาด การเงินที่ร่วมมือกับแผนกที่รับผิดชอบในหน้าที่นั้น ๆ อยู่เสมอ แทบจะเป็นเจ้าของธุรกิจเองเลย ฟังดูแล้ว หน้าที่การทำงานนี้อาจจะดูยิ่งใหญ่ ทั้งยังเนื้อหอมสำหรับใครหลาย ๆ คนที่อยากจะเข้ามาประลองฝีมือกับการทำงานนี้ เพราะมีฐานรายได้ที่ยิ่งใหญ่ตามมา รวมถึงสวัสดิการชั้นเลิศอีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้นคนรุ่นใหม่ต่างให้ความสนใจการทำงาน Product Manager เพราะได้สวมบทบาทการเป็น CEO ขนาดย่อมที่จะต้องมีทักษะการทำงานและมี Sense of Ownership อย่างแรงกล้ากันเลยทีเดียว
การเป็น Product Manager หากอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สั้นและกระชับ คือคนที่จะเข้ามาเป็นผู้นำในการดูแล 1 area ที่อาจถือได้ว่าเป็นเจ้าของ Feature App หรือ Product นั้นเลย โดยจะมีลูกทีมที่มีทักษะการทำงานต่อไปนี้ Data Analyst, Software Engineer, UX Designer, Sales and Marketing มาทำงานร่วมกัน ในแต่ละครั้งจะต้องกำหนดเป้าหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ วิเคราะห์ข้อมูล นำกลับมาปรับปรุงระบบให้พัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกัน Digital Product ที่พัฒนาขึ้นนั้นจะต้องมียอดขายตามเป้าได้ด้วย นี่คือ วงจรการทำงานของ Product Manager ที่น่าท้าทายและดูสนุกมากเลยนะคะ
หากคุณกำลังหลงใหลในอาชีพที่น่าสนใจอย่าง Product Manager จนอยากพัฒนาทักษะของตนเองเพื่อต่อยอดสู่การสมัครเข้าทำงานในตำแหน่ง PM เรามาดูไปพร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะ ว่าแก่นแท้ที่สำคัญของการมีทักษะการทำงานด้านนี้ จะต้องเพิ่มเกราะความรู้ความสามารถด้านใดกันบ้าง
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบ่งบอกได้ว่า คุณสามารถเป็น PM ได้หรือไม่ เริ่มต้นจากการมี Product Mindset คือ คุณจะต้องเข้าใจกระบวนการทำงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ล้ำสมัยกว่าเดิม และมีคุณค่าสูงสุดเพื่อมอบความสะดวกสบายและทำให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อ ซึ่งในการทำงานนั้น หากมีปัญหาอุปสรรคและโอกาสเข้ามา สิ่งที่คุณจะ react กลับไป ทั้งทัศนคติ วิธีคิด และวิธีการ ก็จะช่วยตอบได้ทันทีว่า คุณมีความสามารถที่คู่ควรกับการเป็น PM แล้วหรือยัง หากจะอธิบายให้ละเอียดมากขึ้น การมี Product Mindset ที่ดีและมีคุณภาพ จะมี 3 องค์ประกอบที่สนับสนุนทักษะการทำงานด้านนี้ก็คือ
1.1 Sense of Ownership : ความอินกับการได้เป็นเจ้าของ Feature app, Website, E-commerce ใหม่ของผลิตภัณฑ์ที่คุณได้รับมอบหมายให้ทำงานนั้นไปถึงฝั่งฝันของบริษัท
1.2 User-centric mindset : การเข้าใจกลุ่มลูกค้าอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง
1.3 Fail fast, Learn fast, and Cheaply : ล้มให้เร็ว เรียนรู้ให้ไว และเจ็บตัวในการลงทุนให้น้อยที่สุด
จริง ๆ แล้ว ทั้ง 3 ข้อนี้ อาจจะดูไม่ได้ยากสักเท่าไหร่ แต่ก็มีองค์ประกอบในการทำงานของแต่ละ Step ที่ต้องลงรายละเอียดแบบเจาะลึกเพื่อให้สามารถนำทักษะการทำงานด้าน Product Mindset ใช้ต่อยอดการเป็น Product Manager ที่เก่งกาจได้ หากคุณอยากเรียนรู้และพัฒนาทักษะเพื่อก้าวแรกสู่การเป็น Product Manager สามารถฝึกฝนและสนุกไปกับการลงมือสร้างผลงานจริงผ่าน Micro-credentail เรื่อง Product Mindset บนแพลตฟอร์ม 4LifelongLearning คุณจะได้ทดลองออกแบบผลงานและค้นพบตนเองว่า คุณชื่นชอบและเหมาะสมกับตำแหน่งงานนี้อย่างแน่นอน
การวางแผนกลยุทธ์เป็นอีกหนึ่งทักษะการทำงานของ Product Manager ก่อนที่จะเริ่มต้นการทำงานสร้าง Feature App ใหม่ ๆ จะต้องทำ Market Research (การวิจัยตลาด) เพื่อศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้ตอบโจทย์ โดยวัตถุประสงค์นั้น จะต้องบอกได้ว่า บริษัทจะได้รับอะไรกลับมา และลูกค้าจะได้รับอะไรกลับไป เช่น ความสะดวกสบายในการใช้ Feature App ใหม่ ทำให้เกิดยอดผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น หรือ ยอดขายที่เติบโตกี่เปอร์เซนต์ จากการสร้าง Feature นี้ให้กับลูกค้า เป็นต้น ซึ่ง Keyword ที่สำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ก็คือ การผสมผสานจุดเด่นและจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ Product Manager จำเป็นต้องใช้ทักษะการทำงานวางแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ คุณจะต้องพัฒนาทักษะนี้ให้แข็งแกร่ง เพื่อวางหมากในเกมส์ให้ถูกตัวที่สุด มีผลกระทบน้อยที่สุด และได้รับ Feedback ที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งกระบวนการทำงานจะครอบคลุมทั้ง การใช้งบประมาณลงทุน การใช้ระยะเวลาในการผลิตและพัฒนา รวมไปถึงวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากการปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขระบบให้ดียิ่งขึ้นเสมอ
ทักษะการทำงานด้านเทคนิค หากคุณมีทักษะนี้แล้ว ก็ถือว่าคุณมีอีกความสามารถหนึ่งสำหรับการเป็น Product Manager ได้อย่างสบาย ๆ เพราะในการทำงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านเทคโนโลยี จะต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเข้ามาช่วย แน่นอนว่า การทำงานจะต้องประกอบไปด้วยทีม Develop หรือทีม IT ผู้ซึ่งมีทักษะการทำงานด้านการเขียนโค้ดต่าง ๆ เพื่อใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ถึงแม้ว่าการเป็น Product Manager ไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดหรือรู้ลึกทักษะทางด้าน IT ก็ได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากคุณสามารถทำความเข้าใจกับศัพท์เชิงเทคนิคต่าง ๆ ได้ สิ่งนี้จะช่วยให้การทำงานของคุณร่วมกับทีม Develop หรือทีม IT สื่อสารกันง่ายขึ้น และคุณก็จะสามารถมองหาแนวทางการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในกระบวนการทำงานผลิตภัณฑ์ใหม่ทางด้าน Digital เพื่อให้ตรงสเปคของลูกค้าได้ดีที่สุด
ดังนั้น หากคุณพัฒนาทักษะทางด้านการเทคโนโลยี เช่น ทำความเข้าใจในการเขียนโค้ด ความรู้พื้นฐานของศัพท์เทคนิค เช่น API, Cloud, Front-end, Back-end เป็นต้น คุณก็จะมีทักษะการทำงานที่เพียบพร้อมสู่การเป็น Product Manager
การที่คุณจะขึ้นแท่นเป็น Product Manager ทักษะการทำงานด้านความเป็นผู้นำ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะคุณเปรียบเสมือน Mini CEO คนหนึ่งในการดูแลและรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คุณต้องการสร้างขึ้นเพื่อกลุ่มลูกค้า ดังนั้นคุณจะต้องมีทักษะในการแนะนำทีม ควบคุมการทำงานของทีม ไปจนถึงเมื่อทีมเกิดปัญหา คุณจะสามารถหาแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและตรงจุดที่ทุกคนในทีมจะเกิดความเต็มใจที่จะทำงานให้กับคุณ การเป็น Product Manager จึงจำเป็นต้องพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำที่ดีให้กับตนเอง อีกทั้งการทำงานของ Product Manager จะเป็นตัวเชื่อมที่ทำให้คนในทีมทำงานร่วมกันทั้งทีม Develop, UX Designer, Marketing, Sales และทีมอื่น ๆ ทำให้ต้องมีทักษะการทำงานแบบ Teamwork เช่นกัน และเพื่อให้สามารถเดินหน้าทัพไปตามเป้าหมายของบริษัทหรือองค์กรที่ตั้งใจไว้ คุณจะต้องมีเทคนิคในการผลักดันให้คนในทีมเกิด Mindset เดียวกันเพื่อขับเคลื่อนการทำงานไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ
ตั้งแต่ต้นจนถึงตรงนี้ ทุกคนจะเห็นได้ว่า การทำงานเป็น Product Manager จะต้องคลุกคลีอยู่กับการทำงานเป็นทีมเสมอ และในแต่ละทีมก็จะมีทักษะการทำงานที่แตกต่างกันไป หากคุณคือหัวเรือที่จะต้องนำทีม คุณจะต้องมีทักษะการทำงานในการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ดี เพื่อรวมทีมที่มีความสามารถหลากหลายให้เข้าใจบริบทการทำงานที่คุณพยายามขับเคลื่อนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน คุณจะต้องพัฒนาทักษะไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสาร แต่ควรพัฒนาทักษะที่รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นของคนในทีม การขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในทีม การเข้าใจความต้องการของคนในทีมเพื่อพยายามหาแนวทางให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ หากคุณมีทักษะการทำงานนี้แล้ว การเป็น Product Manager ก็อยู่เพียงแค่เอื้อมเท่านั้น
เมื่อคุณค้นพบตัวเองว่า อยากจะเป็น Product Manager คุณจะต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้านเพื่ออัปเกรดทักษะการทำงาน ได้แก่ 1. ความเข้าใจและการมีทักษะด้าน Product Mindset 2. การวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า 3. ทักษะทางด้านเทคนิคเพื่อใช้สำหรับการทำงานร่วมกับทีม IT หรือทีม Develop ได้อย่างคล่องแคล่ว 4. ภาวะการเป็นผู้นำเพื่อนำทางทีมไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ชัดเจน ในขณะเดียวกัน จะต้องรู้จักการทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และ 5. การมีทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นเลิศ เพราะการเป็น Product Manager คุณจะต้องประสานงานกับคนในทีมและแผนกอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเกิด Mindset เดียวกันในการเดินร่วมทางสู่วิสัยทัศน์ขององค์กร เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถเตรียมตัวสำหรับการทำงานในอาชีพที่น่าสนใจอย่าง Product Manager ที่มีประสิทธิภาพได้แล้ว
พาสำรวจ 10 อาชีพมาแรงในอนาคต 2030 ที่ตลาดแรงงานต้องการสูง พร้อมวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการ และชุดทักษะที่จำเป็น ให้คุณพร้อมต่อยอดไปสู่สายงานในอนาคต
เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ การวางแผน Career Path เป็นเหมือนแผนที่สำคัญที่ช่วยให้คุณไปถึงจุดหมายปลายทางได้ แต่ career path คืออะไร? บทความนี้มีคำตอบ
อยากทำอาชีพฟรีแลนซ์ต้องเริ่มต้นอย่างไรและมีเทคนิคอะไรบ้างที่จะช่วยยกระดับความสามารถการเป็นฟรีแลนซ์ฉบับมืออาชีพ พร้อมรับรายได้จากหลายช่องทางแล้วหรือยัง อ่านบทความนี้