พัฒนาการทำงานด้านวิศวกรอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 5 Soft Skill นี้

เลือกอ่านตามหัวข้อ

By Apatsanan Chaivinit
April 25, 2024

Highlight

สายอาชีพที่อยู่ในเทรนด์ความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็น อาชีพที่น่าสนใจ สำหรับใครหลาย ๆ คนที่กำลังพัฒนาทักษะเพื่อให้ได้ทำงานในสายอาชีพนี้ คุณคงมีตัวเลือกในหัวมากมายว่า นี่คืออาชีพอะไรกันนะ? อาชีพที่เรากำลังพูดถึงก็คือ อาชีพวิศวกร นั่นเอง ทำไมหลายบริษัทถึงต้องการคนทำงานในสายอาชีพนี้ แล้วถ้าคุณสนใจพัฒนาทักษะการทำงานด้านนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

ในยุคสมัยก่อน เมื่อพูดถึงการทำงาน เรามักจะมุ่งมั่นและตั้งใจพัฒนาทักษะการทำงานเพียงแค่ด้านเดียวเท่านั้นก็คือ การฝึกฝน Hard skill ที่จำเป็นต่อสายอาชีพที่เราถนัดหรือมีความต้องการที่จะเข้าไปทำงานในตำแหน่งงานนั้น ๆ แน่นอนว่า หลายบริษัทจะต้องชื่นชอบคนที่มีทักษะการทำงานที่เชี่ยวชาญ แต่เมื่อเวลาผ่านไป การพัฒนาทักษะเพียงแค่ด้าน Hard skill อาจจะไม่ตอบโจทย์ในการทำงาน เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุนในการทำงาน จึงทำให้เกิดกระแสที่ทุกคนเริ่มหันมาพัฒนาทักษะในด้าน Soft skill ควบคู่ไปกับ Hard skill ด้วย ไม่แม้แต่ อาชีพวิศวกร ที่หลายบริษัทเริ่มสนับสนุนให้บุคลากรของตนเองพัฒนาทักษะในด้าน Soft skill มากขึ้น

เมื่อพูดถึงอาชีพวิศวกร คำจำกัดความง่าย ๆ ที่เรามักได้ยินกันคุ้นหูก็คือ “อาชีพที่ต้องมีทักษะการทำงานขั้นสูง” หากขยายความคำจำกัดความนี้ก็คือ สายอาชีพวิศวกรจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านคณิตศาสตร์และด้านเทคโนโลยี ควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีทักษะทางด้านการคิดวิเคราะห์ การคำนวณ การตรวจสอบแก้ไขปัญหา และอื่น ๆ เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ สำหรับอาชีพวิศวกรมักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ก็คือ กลุ่มแรกจะเป็นนักวิจัยและพัฒนาทางด้านวิศวกร (Research and Development) ซึ่งจะเป็นผู้ออกแบบ นักประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การสร้างตึก อาคาร และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นต้น และกลุ่มที่สอง คือ นักบริหารจัดการและควบคุมการผลิต เช่น การผลิตสินค้าภายในโรงงาน เป็นต้น ซึ่งการเป็นวิศวกรก็จะถูกจำแนกสายอาชีพออกไปตามแขนงเพื่อรองรับตำแหน่งในการทำงานของแต่ละองค์กร และเมื่อมองในมุมของคนทำงาน จะพบว่าการทำงานในสายอาชีพวิศวกร มักจะมีสวัสดิการที่ดี ค่าตอบแทนที่น่าประทับใจ และมักมีตำแหน่งงานให้สมัครอยู่เสมอ ไม่ต้องกังวลว่าจะตกงานหรือเปล่า เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกใจที่อาชีพวิศวกรจะเป็นที่หมายปองของใครหลาย ๆ คน

เราจะสังเกตได้ว่า ในทุก ๆ อุตสาหกรรมจะมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะการทำงานด้านวิศวกรเสมอ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการขนส่ง การผลิต เทคโนโลยี และอีกมากมาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะการทำงานด้านความคิดเชิงวิเคราะห์ (analytical thinking) และด้านความคิดเชิงนามธรรมก็คือ กระบวนการตัดสินใจ โดยการคัดเลือกข้อมูลที่สำคัญออกจากข้อมูลรายละเอียดมากมายในปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะที่เพียงพอและจำเป็นสำหรับการแก้ไขปัญหานั้นจริง ๆ (abstract thinking) ซึ่งวิศวกรจะมี Hard skill ที่เป็นเสน่ห์ในการทำงานคือ การออกแบบ การควบคุม และการพัฒนา โดยภายใต้การทำงานด้านวิศวกรก็จะมี Soft skill ที่สำคัญเพื่อสนับสนุนการทำงานด้านวิศวกรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วยเช่นกัน


หากคุณคือหนึ่งในกลุ่มคนนับล้านที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้าน Soft skill ของการเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพ บทความนี้ พร้อมจะให้คำตอบสำหรับคุณ 4LifelongLearning พาไปพบกับ…

5 Soft Skills ที่วิศวกรควรมี นั่นก็คือ 

1. ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) 

2. ทักษะการปรับตัวเมื่อเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง

3. ทักษะความเป็นผู้นำ 

4. ทักษะในการบริหารและจัดลำดับเวลา

5. ทักษะในการสื่อสารและการต่อรอง

1. ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem Solving) 

การพัฒนาทักษะในด้าน Soft skill ซึ่งสิ่งแรกที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับอาชีพวิศวกรจะต้องมี คือ ทักษะการแก้ไขปัญหาให้เป็นและทำได้จริง ในบางครั้งอุปสรรคสำหรับการทำงานด้านวิศวกรอาจจะเป็นเพราะ เราไม่รู้ถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง จึงทำให้เกิดเป็นสาเหตุของการเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุดและไม่สามารถขจัดปัญหาเหล่านั้นออกไปได้ ดังนั้น ทักษะการทำงานของการแก้ไขปัญหาให้ได้ตรงจุดจึงประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่คุณสามารถพัฒนาทักษะได้เองจากการลงมือทำ ดังนี้

       ขั้นตอนที่ 1 คือ การระบุปัญหาที่ชัดเจน

       ซึ่งคุณจะต้องรวบรวมความเป็นไปได้ของต้นตอปัญหาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่คุณมี หรือใช้ทักษะการทำงานด้วยการสังเกตสิ่งผิดปกติของกระบวนการทำงาน ว่าเกิดมาจากปัญหาของคนทำงานหรือปัญหาของเครื่องจักร จากนั้นทำการเขียน problem statement ขึ้นมาว่า pain คืออะไร เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 

       ขั้นตอนที่ 2 ระดมตัวเลือกสำหรับการแก้ไขปัญหา

        หลังจากที่กำหนดเป้าหมายของการแก้ไขปัญหา วิศวกรจะใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะความคิดเชิงนวัตกรรม และทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีตรรกะ ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการการทำงานที่รวบรวมแนวทางแก้ไขปัญหาออกมาให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องมีการเปรียบเทียบความน่าจะเป็นของแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ๆ รวมถึงต้องคำนึงถึงข้อมูลที่เรามีทั้งเรื่องของแรงคน ระยะเวลาในการดำเนินงานที่น้อยที่สุด และการใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด

       ขั้นตอนที่ 3 เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา

        สิ่งสำคัญของการเลือกแนวทางที่ใช้แก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด คุณจะต้องมีทักษะการตัดสินใจ (Decision making) บนพื้นฐานของข้อมูลที่ครอบคลุมเพื่อให้คุณได้เลือกกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์มากที่สุด ไม่เพียงแค่ทักษะการตัดสินใจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทักษะการทำงานในด้านการนำเสนองานและทักษะการโน้มน้าวใจเพื่อที่จะทำให้คนในทีมคล้อยตาม และยอมรับในแนวทางที่คุณเลือกบนหลักของข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ ซึ่งคุณจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่าเลือกกลยุทธ์นี้เพื่ออะไร? ถ้าหากไม่ลงมือทำ จะเกิดผลกระทบอะไรขึ้น? และแนวทางแก้ไขปัญหานั้น จะสามารถวัดผลได้อย่างไร? หากคุณสามารถตอบคำถาม 3 ข้อนี้ได้ จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป

       ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการแก้ไขปัญหาและวัดผล

         คุณจะต้องวางแผนการดำเนินงานเป็นลำดับขั้นที่แน่นอน สามารถจัดลำดับความสำคัญของขั้นตอนได้ว่า สิ่งไหนควรลงมือทำก่อน หรือสิ่งไหนควรลงมือทำทีหลัง และคุณจะต้องมีกระบวนการทำงานเพื่อวัดผลที่ชัดเจนว่า สิ่งที่คุณลงมือทำนั้นสอดคล้องกับจุดประสงค์แรกที่คุณได้กำหนดเอาไว้หรือไม่ ซึ่งคุณสามารถใช้หลักการวัดผลในรูปแบบ KPI (Key Indicator of Success) เพื่อวัดว่า ผลลัพธ์แบบไหนถึงจะเรียกว่า สำเร็จและผลลัพธ์แบบไหนจะต้องได้รับการพัฒนาต่อไป

2. ทักษะการปรับตัวเมื่อเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง

ทักษะการทำงานที่กลุ่มวิศวกรต้องเผชิญ ไม่ว่าจะทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตามนั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทำงานทั้งในเรื่องของอุปกรณ์ มาตรฐานการทำงาน และคน ซึ่งสิ่งที่กลุ่มวิศวกรมักเผชิญ เช่น เหตุการณ์ที่เครื่องจักรเกิดความเสียหาย แต่ยังคงต้องผลิตสินค้าเพื่อนำส่งลูกค้า จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระยะเวลาในการผลิตสินค้า หรือ หากบริษัทมีการรับพนักงานเข้ามาใหม่ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการทำงานเพราะ พนักงานใหม่อาจไม่รู้เทคนิคหรือกระบวนการทำงานของบริษัท จะต้องมีการวางแผนสอนงานและฝึกฝนทักษะของพนักงานใหม่ให้สามารถทำงานได้ตรงตามคุณภาพของบริษัท เป็นต้น ซึ่งวิศวกรจะต้องมีทักษะการจัดการทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาให้สามารถเกิดการทำงานที่ต่อเนื่องได้ วิศวกรจะต้องวางแผนและคาดการณ์ถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าเพื่อแสวงหาวิธีการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในการทำงาน หากความเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลให้คุณทำงานผิดพลาด คุณจะต้องพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการทำงานของคุณต่อไป สิ่งนี้ จะช่วยลดโอกาสในการทำงานที่ผิดพลาดเมื่อคุณต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานและทำให้เกิดแนวคิดในการทำงานที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น

3. ทักษะความเป็นผู้นำ 

การเป็นผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการขับเคลื่อนทีมไปข้างหน้าเพื่อสร้างผลงานให้บรรลุตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งวิศวกรผู้ที่เป็นผู้นำได้ดี ไม่ใช่เพียงแค่การสั่งงานลูกทีมให้ทำตามได้เท่านั้น แต่หมายถึงการเป็นผู้นำทางด้านความคิด สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในทีม กระตุ้นการทำงานด้วยวิสัยทัศน์เชิงบวก สามารถมอบหมายหน้าที่การทำงานให้กับลูกทีมได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญคือจะต้องมีทักษะการทำงานเป็นทีม รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของคนในทีม หากคุณพัฒนาทักษะการทำงานในด้านนี้แล้วล่ะก็ อาจถือได้ว่าคุณก็มีอีกมิติหนึ่งของการเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพท่านหนึ่งแล้ว

4. ทักษะในการบริหารและจัดลำดับเวลา

อีกหนึ่งทักษะการทำงานของการเป็นวิศวกรที่มีประสิทธิภาพ จะถูกวัดด้วยทักษะความสามารถในการบริหารจัดการลำดับเวลาได้ดี ไม่ทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้าหรือเสียโอกาสทางธุรกิจ เพราะต้นทุนของระยะเวลามักมีราคาสูงเสมอ เมื่อใช้เวลาที่นานเกินไป อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในต้นทุนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินงานอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น เมื่อคุณเป็นวิศวกรที่มีหน้าที่บริหารจัดการงานก่อสร้างอาคารแห่งหนึ่งและดำเนินงานเกินระยะเวลาในการทำงานที่กำหนด จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงาน ค่าปรับ ค่าเช่าอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างผลเสียต่อผลประกอบการเชิงธุรกิจและการวางแผนดำเนินงานขององค์กร เป็นต้น ดังนั้น หากคุณสามารถแสดงศักยภาพในการจัดลำดับการบริหารเวลา เพื่อให้สามารถประเมินและจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมกับการทำงานได้ การสมัครงานเพื่อทำงานในตำแหน่งวิศวกรก็ไม่ใช่เรื่องยากของคุณอีกต่อไป

5. ทักษะในการสื่อสารและการต่อรอง

แน่นอนว่าเมื่อเกิดความคิดเห็นที่หลากหลาย เราจะต้องใช้ทักษะการทำงานในการต่อรอง เพื่อให้เกิดการเลือกวิธีการทำงานที่สามารถตอบสนองต่อทุกหน่วยงานให้ได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของบริษัทและความต้องการของกลุ่มลูกค้า ดังนั้น หากคุณต้องการเป็นวิศวกรที่มีคุณภาพ คุณจะต้องพัฒนาทักษะการทำงานในด้านการพูด การใช้ถ้อยคำในการสื่อสาร จะต้องวางแผนในการเจรจาต่อรองที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ลดระดับความรุนแรงของปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สามารถรักษาสิทธิของทุกคน และได้จุดยืนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คุณอาจต้องพัฒนาทักษะการทำงานในด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จัดทำกิจกรรมรูปแบบกลุ่มเพื่อสนทนาวิธีการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของทั้งสองฝ่าย หากคุณมีทักษะการทำงานในการเจรจาต่อรอง คุณก็พร้อมแล้วที่จะเป็นวิศวกรที่ใช้ทักษะการเจรจาต่อรองในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากคุณกำลังมองหาโอกาสเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านวิศวกร เราขอแนะนำแพลตฟอร์ม 4LifelongLearning แหล่งความรู้และสร้างความก้าวหน้าให้กับทักษะเพื่อการทำงานในด้านต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีแค่เพียง Hard skill เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Soft skill ของคุณ ด้วยการลงมือทำจริงผ่านระบบ Micro - credential ที่มี Soft skill หลากหลายตอบโจทย์กับการทำงานทางด้านวิศวกร คุณสามารถเข้าไปเลือก Micro - credential ที่ตรงกับความสามารถของคุณและฝึกฝนและพัฒนาความสามารถให้พร้อมกับการส่งผลงานที่ตนเองสร้างขึ้นผ่านระบบ หากผลงานของคุณผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ คุณจะได้รับ Digital badge ที่มอบให้แก่ผู้มีทักษะความสามารถนั้นจริง เพื่อรับรองคุณภาพทักษะของคุณ ช่วยเป็นใบเบิกทางประกอบบน Portfolio ในการยื่นสมัครงานให้กับคุณได้ง่าย ๆ นั่นเอง

สรุป

ถ้าคุณพร้อมที่จะทำงานในสายอาชีพวิศวกรเพื่อให้คุณได้เป็นวิศวกรที่หลายบริษัทต้องการตัวคุณ คุณจะต้องฝึกฝนและพัฒนาทักษะการทำงานด้วย 5 Soft skills นี้ ได้แก่ 1. พัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา 2. พัฒนาทักษะในการปรับตัวเพื่อเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงในการทำงาน 3. พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำที่เหมาะสม 4. พัฒนาทักษะการบริหารและจัดลำดับเวลาในการทำงานที่คุ้มค่ามากที่สุด และ 5. พัฒนาทักษะในการสื่อสารและต่อรอง เมื่อคุณมีครบ 5 Soft skills นี้แล้ว โอกาสที่คุณรอคอยเพื่อทำงานในสายอาชีพวิศวกรก็อยู่แค่เอื้อมมือเท่านั้นค่ะ

Share

Apatsanan Chaivinit

Writer Professional bio

บทความที่คุณอาจสนใจ

Work tipsLifelong Learning คือ?​ ทำไมคนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต?

Lifelong Learning คือ ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในโลกที่ผันผวน แล้วจะมีเทคนิคการเรียนรู้อะไรบ้าง? ค้นพบคำตอบในบทความนี้

Work tipsHuman Skill คืออะไร? กุญแจสำคัญให้มนุษย์ทำงานอยู่รอดในยุค AI

Human Skill คือ จุดแข็งของมนุษย์ที่ AI ไม่สามารถ ทำได้ แล้ว Human Skill human skill มีอะไรบ้าง? และจะมีเทคนิคการพัฒนาอย่างไร? ติดตามได้ในบทความนี้

Work tipsส่องอาชีพที่ AI ทำแทนไม่ได้ พร้อมแนวทางรับมือให้เป็นคนที่ใช่

อาชีพใดบ้างที่ AI ทำแทนไม่ได้ และอาชีพไหนที่ต้องรีบพัฒนาตนเองก่อน AI เข้ามาแทนที่มนุษย์ มาหาคำตอบพร้อมแนวทางการรับมือในบทความนี้กัน